วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553

การใช้ที่ดินภายในบริเวณคูเมืองชั้นนอกและคูเมืองชั้นในของชุมชนโบราณเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ กรณีศึกษาเปรียบเทียบ (บุญสม สังข์สาย, 2545)





1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองสุรินทร์ในปัจจุบันนั้น ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่เคยเป็นเมืองโบราณมีชื่อเรียกว่าบ้านคูปะทายหรือประทายสมันต์หรือประทายสมัน คำว่าปทายมาจากคำว่าบันทายแปลว่ากำแพงหรือเมืองหรือป้อม จากภาพถ่ายทางอากาศปรากฏหลักฐานแสดงให้เห็นการตั้งเมืองสุรินทร์ ซึ่งเป็นเมืองที่มีคูคันดินล้อมรอบ 2 ชั้น พื้นที่ของเมืองวัดตามแนวรอบคูเมืองชั้นนอกประมาณมากกว่า 3.2 ตร.กม.หรือมากกว่า 2,000 ไร่ จัดเป็นชุมชนโบราณที่มีขนาดใหญ่ 1 ใน 10 อันดับแรกของชุมชนโบราณที่สำรวจพบในประทศไทย
สภาพในปัจจุบันพบว่าคูเมืองชั้นในมีลักษณะเป็นคูเมืองอยู่ด้านนอกคู่กับกำแพงดินที่อยู่ถัดเข้ามา เป็นเส้นโค้งและมีรูปร่างคล้ายรูปหัวใจ ปลายแหลมตอนล่างของหัวใจอยู่ตรงบริเวณสระน้ำวัดจุมพลสุทธาวาส จากตำแหน่งนี้ไปทางทิศตะวันออกของคูเมืองชั้นในเป็น คูเมือง ถนน และศูนย์รวมสถานที่ราชการ จนถึงสวนสาธารณะหนองยาว ระยะทางประมาณ 1 กม. จากนั้นคูเมืองหักไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นคูเมืองชั้นในทิศเหนือ ปรากฏเป็นถนน ตลาดสดเทศบาลเมือง อาคารพาณิชย์ และสถานที่ราชการ ระยะทางประมาณ 1 กม. ส่วนคูเมืองชั้นในทิศตะวันตก ปรากฏเป็นคูเมืองคู่กับกำแพงเมืองที่เป็นดินเห็นได้ชัดเจนกว่าทุกด้าน และมีสถานที่ราชการหลายแห่ง ระยะทางประมาณ 1.7 กม.
ส่วนคูเมืองชั้นนอกมีลักษณะเป็นกำแพงดินอยู่ตรงกลางขนาบด้วยคูเมือง 2 ด้าน แตกต่างจากคูเมืองชั้นใน และมีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า แนวคูเมืองด้านยาววางตัวขนานกันในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ระยะทางใกล้เคียงกัน นั่นคือแนวคูเมืองทิศเหนือเป็นชุมชนมีรายได้น้อย ถนน อาคารพาณิชย์ และสถานที่ราชการ ระยะทางประมาณ 2.5 กม. และทิศใต้เป็นชุมชนมีรายได้น้อย ถนน และที่อยู่อาศัย ระยะทางประมาณ 2 กม. สำหรับด้านกว้างแนวคูเมืองวางตัวขนานกันในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ระยะทางใกล้เคียงกัน นั่นคือแนวคูเมืองทิศตะวันออกมีความชัดเจนน้อยกว่าทุกด้าน เป็นชุมชนมีรายได้น้อย ระยะทางประมาณ 1.3 กม. และทิศตะวันตกเป็นชุมชนมีรายได้น้อย และที่อยู่อาศัย ระยะทางประมาณ 1.2 กม.
ปัจจุบันเทศบาลเมืองสุรินทร์ได้บูรณะสภาพของคูเมืองและกำแพงเมือง โดยจัดให้เป็นสถานที่นันทนาการ ติดป้ายให้ทราบถึงความสำคัญ แต่นับวันการขยายตัวเมืองมีมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้สภาพที่เป็นมาแต่อดีตเปลี่ยนแปลงไปมาก ผู้วิจัยเห็นว่าควรที่จะได้ศึกษาติดตามการใช้ที่ดินในชุมชนโบราณแห่งนี้

2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
2.1 ต้องการเปรียบเทียบหน้าที่และลักษณะโครงสร้างในปัจจุบัน ระหว่างพื้นที่ภายในคูเมืองชั้นนอกกับพื้นที่ภายในคูเมืองชั้นในที่เป็นที่ตั้งของเมืองสุรินทร์
2.2 ต้องการศึกษาผลกระทบและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ภายในคูเมืองทั้งหมด

3. การรวบรวมข้อมูล
การแปลความและตีความจากภาพถ่ายทางอากาศของกรมแผนที่ทหารมาตราส่วน 1 : 10,000 ผังเมืองรวมของกรมการผังเมือง ผังเทศบาลเมืองสุรินทร์ ข้อมูลภาคสนาม โปรแกรม ArcView GIS Version 3.1 เพื่อจัดทำแผนที่แสดงหน้าที่และลักษณะโครงสร้าง และการวัดพื้นที่ด้วยจุด เพื่อคำนวณพื้นที่การใช้ที่ดินแต่ละประเภท ทางอากาศของกรมแผนที่ทหารนๆที่ได้ดำเนินการไปมากแล้วทนาการ ติดป้ายให้ทราบถึงความสำ

4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
4.1 หน้าที่และลักษณะโครงสร้างในปัจจุบันของพื้นที่ภายในคูเมืองชั้นในเป็นพื้นที่การค้าและบริการมากที่สุดประมาณร้อยละ 33.37 รองลงมาเป็นที่อยู่อาศัยประมาณร้อยละ 25.78 สถานที่ราชการด้านสาธารณสุข สาธารณูปโภค และสาธารณูปการประมาณร้อยละ14.10 รวมพื้นที่ทั้ง 3 ประเภทประมาณร้อยละ 73.25 ของพื้นที่ภายในคูเมืองชั้นใน
4.2 หน้าที่และลักษณะโครงสร้างของพื้นที่ภายในคูเมืองชั้นนอกเป็นพื้นที่ที่อยู่อาศัยมากที่สุดประมาณร้อยละ 31.23 รองลงมาเป็นพื้นที่โล่งหรือที่ว่างที่ยังไม่ได้พัฒนาประมาณร้อยละ 27.87 และพื้นที่การค้าและบริการประมาณร้อยละ 20..09 รวมพื้นที่ทั้ง 3 ประเภทประมาณร้อยละ 79.19 ของพื้นที่ภายในคูเมืองชั้นนอก (ดูรูปที่ 4.5)
4.3 ผลกระทบจาการใช้พื้นที่ พบว่า
4.3.1 ความแออัดของที่อยู่อาศัยทำให้ชุมชนขยายตัวเข้าไปบุกรุกพื้นที่อนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทยและพื้นที่สาธารณะ
4.2.2 การจราจรแออัดในชั่วโมงเร่งด่วน โดยเฉพาะถนนหลักเมืองบริเวณตลาดน้อย ถนนกรุงศรีในบริเวณตลาดลดเทศบาลเมือง และวงเวียนน้ำพุถึงสี่แยกไนท์
4.3.3 มลพิษทางอากาศจากยานพาหนะ
4.3.4 การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและขยะอันตราย
4.3.5 มลภาวะทางเสียง
4.3.6 โครงสร้างพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น ทางเดินเท้า ระบบระบายน้ำ ไฟฟ้าสาธารณะ และน้ำประปาไม่เพียงพอ
4.3.7 ขาดพื้นที่สีเขียว
4.4 แนวทางการพัฒนาพื้นที่ภายในคูเมือง
4.4.1 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.4.2 อนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย
4.4.3 การใช้ผังเมือง
4.4.4 การให้ความสำคัญกับการลดมลพิษ
4.4.5 การอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่สีเขียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น